TP-Link รุ่น Archer AX53 (AX3000) รุ่นนี้มีความพิเศษตรงที่รองรับการทำ Mesh Wi-Fi แบบง่าย ๆ ด้วยงบประมาณไม่สูง
สำหรับรีวิวครั้งนี้ ต้องออกตัวขอขอบคุณทาง TP-Link ที่จัดกิจกรรมสนุก ๆ ขึ้นมาผ่านทาง Facebook เพจ TP-Link https://www.facebook.com/TPLinkTH/posts/5166709050046887 #TPLink #ArcherAX53 ก่อนเลยครับ ซึ่งผมเองก็เข้าไปชาเลนจ์ร่วมเล่นด้วย กับชิงรางวัลรับ WI-FI Router ของ TP-Link รุ่น Archer AX53 (AX3000) รุ่นนี้มีความพิเศษตรงที่ออกแบบมาสานต่อจากรุ่น AX50 ที่หลายคนคงกำลังใช้งานอยู่ แต่สิ่งนึงที่ทำให้ AX53 มีความพิเศษขึ้นมาคือรุ่นนี้จัดอยู่ใน Series Model ของกลุ่ม Mesh One ซึ่งรองรับการทำ Mesh ได้นั่นเอง
แต่ผมต้องขอบอกไว้อย่างนึงก่อนจะเริ่มไล่อ่านรีวิวตัวผมไม่มีตัว Wi-Fi Extender อย่างรุ่น TP-Link RE605x ที่รองรับ Mesh One Technology ของ TP-Link ซึ่งที่คิดไว้ก็คือไว้ค่อยจัดหามาลองเชื่อมต่อและลองรีวิวอีกครั้ง เอาว่าเรามาดูกันครับว่าตัว TP-Link Archer AX53 ตัวนี้จะมี Features อะไรน่าสนใจบ้าง หรือมีจุดดีจุดสังเกตอะไรก่อนที่จะนำมาใช้งานกันบ้าง
รู้จักกับระบบ Mesh One
ซึ่งตัว Mesh One จะเป็น Technology ที่เข้ามาขยายขีดความสามารถและการรองรับการเข้ากันได้ระหว่างอุปกรณ์ที่รองรับ Mesh One ของ TP-Link นั่นเองซึ่งมีราคาตั้งแต่หลัก 1-2 พันบาท ขึ้นไปให้เราเลือกใช้งานตามแล้วแต่ Speed ในรุ่น Router ที่เราชอบหรือต้องการนำไปใช้งานติดตั้งภายในบ้านให้สามารถกระจายสัญญาณ Wi-Fi ครอบคลุมและบีมสัญญาณได้แรงสม่ำเสมอและช่วยลดจุดอับสัญญาณที่เกิดขึ้นได้เพียงเสริมตัวกระจายสัญญาณนั้น ๆ เข้าไปตามจุดครับ
Appearance - TP-Link Archer AX53 (AX3000)
ระบบ HomeShield Security ป้องกันของ TP-Link Archer AX53
จะใช้เป็น Service ตัว HomeShield ซึ่งถามว่าดีมั๊ยในมุมมองผมมันก็ดีนะแต่ก็มีจุดน่าคิดคือถ้าเราอยากเปิดใช้งานแบบรุ่น Pro ก็อาจจะต้องเสียเงินแบบรายเดือนไม่ก็รายปีเพิ่มเติมเริ่มต้นที่ 200 บาท แบบรายเดือน หรือรายปี 1,750 บาท แต่ถ้าไม่คิดว่าจะใช้งานก็สามารถข้ามการติดตั้งและเสียค่าบริการนี้ไปได้เช่นกันครับ
การ Setup
ผ่าน TP-Link Tether App (Android)
ในการติดตั้งตัว TP-Link Archer AX53 กับ Router จากผู้บริการหลายคนซื้อไปอาจจะงง ๆ ว่าเอ๊ะซื้อไปใช้ได้แบบไหนบ้างและติดตั้งผ่านทางใด แนะนำว่าอ่านคู่มือประกอบก็ช่วยได้ แต่ถ้าให้ผมอธิบายแบบง่าย ๆ ก็คือสามารถทำได้ผ่านแอปของ TP-Link Tether ซึ่งสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ทั้ง iOS และ Android แต่สำหรับผมใช้ Android ก็ดาวน์โหลดจาก Google Play : TP-Link Tether - แอปพลิเคชันใน Google Play หรือหากใครใช้ iPhone (iOS) ก็โหลดจาก Apple Store : TP-Link Tether on the App Store (apple.com)
การ Config Router
อันนี้ไม่ยากเลยปัจจุบันผู้ผลิตอุปกรณ์ Network โดยเฉพาะ Wi-Fi Router สำหรับตามบ้านมักนิยมให้ผู้ซื้อติดตั้งค่าผ่านแอปครับ ซึ่งจากที่ผมใช้งานอุปกรณ์ TP-Link อยู่ก็สามารถเพิ่มจำนวน Router ตัวใหม่เข้าไปได้เลย แล้วค่อยจับเชื่อมต่อกับ Router ของผู้บริการ Internet โดยเราสามารถเลือกได้ 2 Mode การทำงานหลัก ๆ นะสำหรับ TP-Link Archer AX53 คือ Wireless Router Mode และ Access Point Mode ซึ่งเราสามารถเข้าไป Config ได้ทั้งผ่านตัวแอป Tether หรือผ่าน Web Browser เช่นกันแต่หากผ่าน Web Browser แนะนำว่าควรติดตั้งช่วงแรกผ่านแอปก่อนจะง่ายกว่า
ในส่วนของระบบการ Login เข้าแนะนำครับว่าควรสมัคร ID ของ TP-Link ไว้เลยดีกว่าเพราะหากใช้แบบ Local มันจะยุ่งยากตรงที่เราต้องจด User/Password ไว้ 2 ชุด อธิบายให้เข้าใจก็คือตัวระบบของ TP-Link จะอ้างอิงการสมัครแบบ Cloud ซึ่งการใช้ผ่านระบบ Cloud จะทำให้เราสะดวกมาก ๆ เพราะใช้ได้ทั้งผ่านแอป Tether และผ่าน PC Desktop ได้ด้วยในคราวเดียวกัน แต่ถ้าใครไม่สะดวกสมัคร ID ผ่านระบบ Cloud ก็แยกมาทำเป็นแบบ Local ID / Password ไว้ก็ได้เช่นกัน
และถ้าอยากเปลี่ยนโหมดภายหลังสามารถต่อได้ผ่าน Computer PC และเข้าผ่าน IP Address 192.168.0.1 ซึ่งตามภาพผมเซ็ตอัพไว้เป็นแบบ PPPoE หรือก็คือโหมดการทำงานแบบ Wireless Router Mode นั้นเองครับ ซึ่งแค่เพียงเราต่อเข้ากับ Router จากผู้ให้บริการต่าง ๆ จะเป็น AIS , True , 3BB , NT ก็สุดแล้วแต่ โดยที่ตัว Router ของผู้ให้บริการควรตั้งเป็น Bridge Mode ก่อนครับ
Test ระยะ Range การส่งสัญญาณ
Test Issue
Cons
จุดสังเกตหลัก ๆ เลยคือตัว TP-Link Archer AX53 เนี่ยอาจจะเหมาะกับทำ Mesh จริง ๆ แหละครับเนื่องจากว่าถ้าใช้เป็น Router ตัวเดียวแล้วยิงสัญญาณกระจายรอบบ้านโดยเฉพาะบ้าน 2 ชั้น อาจจะไม่ถึงหรือไปในจุดอับสัญญาณ หรือมีอะไรกั้นมากเกินไปก็ไม่สามารถยิงสัญญาณให้แรงได้ตามที่คาดหวัง โดยเฉพาะจุดหลัก ๆ ภายในบ้านเช่น ห้องนั่งเล่นเป็นต้น อันนี้ต้องบอกว่าถ้าได้ตัว TP-Link RE605x มาอยากจะทดสอบซะอีกรอบจริง ๆ เลยล่ะครับว่าสามารถทำการส่งสัญญาณได้แรงรอบบ้านกว่านี้หรือไม่
Verdict
โดยรวมผมมองว่าตัว TP-Link Archer AX53 เป็น Wi-Fi 6 Router อีกรุ่นที่ตอบโจทย์การใช้งานภายในบ้านจะ 1-2 ชั้นก็สบายนะแต่ให้ดี บ้าน 2 ชั้นควรจะเสริมทัพเสริมพลังให้เป็น Mesh แลดูเข้าท่ากว่าการมี Router Wi-Fi เพียงตัวเดียวเท่านั้นมากระจายสัญญาณเพราะบางจุดในบ้านตามตัวอย่างที่ผมเทสในบ้านผมเองจะเห็นได้ชัดเจนเลยเช่นห้องน้ำชั้นบนอาจจะห่างจาก Router ตัวปล่อยสัญญาณแค่ไม่กี่เมตรก็เจอกำแพงหนา ๆ ตบให้สัญญาณอ่อนลงได้แต่ก็ยังพอใช้รับได้แรงพอประมาณ แต่เมื่อลงไปชั้นล่างสัญญาณยิ่งออกลง โดยเฉพาะตามห้องที่ไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกับห้องนอน C ที่ปล่อยสัญญาณ อันนี้ชัดมาก แต่กลับไปแรงสุดในห้องครัว ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำเลยครับเมื่อคุณซื้อไปคือสอยตัวอุปกรณ์ Mesh One จะรุ่น RE505X หรือ RE605X ที่เป็น Wi-Fi ก็ยังดี หรือจะเอาถูกลงมาเป็นกลุ่ม AC Wi-Fi Extender ที่รองรับ Mesh One ก็ได้เช่นกัน
*~ ตัว RE605X ราคาอยู่ราว 2,190 - 2,300 บาท ประมาณนี้ครับหาได้ใน Shopee , Lazada, ShopAt24 ก็ดีได้หมด หรือ JIB / Advice ไรงี้ก็ได้ ก็ขอขอบคุณทาง TP-Link ที่ทำกิจกรรมสนุก ๆ ครั้งนี้ครับ
COMMENTS